วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

การเปรียบเทียบต้นน้ำเต้าต้นกับร่างกายของคน

การเปรียบเทียบความเหมือนต้นน้ำเต้าต้นกับร่างกายของคน
ราก เหมือน ปากของคน ที่คอยรับอาหาร
ใบ เหมือน จมูก ที่คอยรับอาการหายใจ
ลำต้น " ลำตัว ที่คอยพยุงตัวไว้
ดอก " ใบหน้า ที่ดีงดูดเพศตรงข้าม
ผล " มีการสืบพันธ์ให้คงอยุ่

การทำพรรณไม้ดอง

เรื่อง การทำตัวอย่างพรรณไม้ดอง

การนำตัวอย่างพืชที่เก็บได้นำไปแช่ในน้ำยาดองที่เหมาะสม น้ำยาที่นำมาดองนี้โดยทั่วไปนอกจากจะฆ่าเซลล์แล้ว ยังรักษาสภาพเซลล์ด้วย ชิ้นส่วนของพืชที่ดองไว้บางสูตรของน้ำยาสามารถที่จะนำสไลด์ถาวรได้ด้วย วิธีนี้ถ้าถ้าพืชขนาดเล็กอาจดองได้ทั้งต้น แต่ถ้าเป็นพืชขนาดใหญ่ก็จะใช้เฉพาะบางส่วนเท่านั้น
น้ำยาดอง เป็นสารละลายที่มีส่วนประกอบของสารเคมีต่างๆ ซึ่งมีสูตรต่างๆ กัน ให้คุณภาพและประสิทธิภาพไม่เหมือนกัน ที่นิยมโดยทั่วไปแบ่งออกเป็นสองประเภท ได้แก่
1. น้ำยาดองแบบธรรมดา
1.1 ฟอร์มาดีไฮด์ หรือ ฟอร์มาลิน 3-5%
สามารถใช้แช่ตัวอย่างได้ระยะเวลานานโดยไม่เปราะ ประกอบด้วย
ฟอร์มาดีไฮด์ 40 % 3-5 มิลลิลิตร
น้ำกลั่น 97-95 มิลลิลิตร
1.2 เอธิลแอลกอฮอล์ 70%
สีเขียวของคลอโรฟิลล์จะจาง เซลล์เหี่ยว และเนื้อเยื่อเปราะ ประกอบด้วย
เอธิลแอลกอฮอล์ 70% 70 มิลลิลิตร
น้ำกลั่น 25 มิลลิลิตร
1.3 เอฟเอเอ(ฟอร์มาลิน อะซิติก แอลกอฮอล์)
ตัวอย่างที่ดองไม่สามารถรักษาสภาพสีเขียวไว้ได้ ประกอบด้วย
กรดอะซิติก 5 มิลลิลิตร
เอธิลแอลกอฮอล์ 95% 50 มิลลิลิตร
ฟอร์มาลิน 40 มิลลิลิตร
น้ำกลั่น 35 มิลลิลิตร
2. น้ำยาดองรักษาสภาพสี
2.1 การดองเพื่อรักษาสีเขียว ประกอบด้วย
ฟอร์มาลิน 40% 12 มิลลิลิตร
โซเดียมคลอไรด์ 4 กรัม
คอปเปอร์ซัลเฟต 1 กรัม
น้ำกลั่น 230 มิลลิลิตร
2.2 การดองเพื่อรักษาสีแดง ส้ม และเหลือง
ฟอร์มาลิน 40% 25 มิลลิลิตร
กลีเซอรีน 25 มิลลิลิตร
ซิงค์คลอไรด์ 50 กรัม
น้ำกลั่น 1000 มิลลิลิตร
2.3 การดองรักษาสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน
โปแทสเซียมไนเตรต 30 กรัม
โซเดียมคลอไรด์ 90 กรัม
น้ำกลั่น 4500 มิลลิลิตร
คอปเปอร์ซัลเฟต 0.5 กรัม


…………………………………………………………………..

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พรรณไม้แห้ง

1. ประโยชน์ของการเก็บและรักษาตัวอย่างพรรณไม้
1.1 เป็นหลักฐานว่าในแต่ละท้องถิ่นมีพืชชนิดใดบ้าง
1.2 เป็นข้อมูลให้ทราบว่าในแต่ละช่วงเวลามีพืชชนิดใด
1.3 ทำให้สามารถศึกษาพืชนั้น ๆ ได้ตลอดเวลา ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นช่วงฤดูเจริญเติบโตของพืชโดยเฉพาะพืชป่าหรือพืชที่หายาก
1.4 มีข้อมูลจากป้ายบันทึกที่ติดอยู่บนตัวอย่างมากกว่าที่ศึกษาจากต้นพื
1.5 ตัวอย่างพืชที่อัดแห้งและทราบชื่อที่ถูกต้องแล้ว เรียกว่า ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง หรือ herbarium specimen ซึ่งบางคนอาจเรียกย่อ ๆ ว่า herbarium ( พหูพจน์ herbaria ที่จริงแล้วคำนี้หมายถึงสถานที่เก็บรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้แห้ง หรือ พิพิธภัณฑ์พืช นั่นเอง ) สามารถใช้อ้างอิงได้เหมือนหนังสือ

2. การเก็บและอัดตัวอย่างพรรณไม้

2.1 อุปกรณ์

1) แผงอัดพรรณไม้( plant press ) ขนาด 30 x 46 ซม. หรือ 12 x18 นิ้ว 1 คู่ (ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง หรือไม้ไผ่ สานกันเป็นตาราง ตอกตะปูยึดให้ติดกัน)

2) เอกสำหรับรัดแผงอัด 2 เส้น ( นิยมใช้เชือกไส้ตะเกียง )

3) กรรไกรตัดกิ่งไม้หรือมีด

4) กระดาษอัดพรรณไม้ นิยมใช้กระดาษหนังสือพิมพ์เป็นคู่พับครึ่งสำหรับวางตัวอย่างพรรณไม้ที่จะอัด

5) กระดาษลูกฟูก หรือกระดาษกล่อง ใช้สำหรับคั่นระหว่างตัวอย่างพรรณไม้แต่ละชิ้นเพื่อให้พรรณไม้เรียบ และระบายความชื้นได้ดี

6) ถุงพลาสติกขนาดใหญ่เล็ก พร้อมยางรัดปากถุง

7) สมุดบันทึกและป้ายหมายเลขผูกตัวอย่างพรรณไม้

2.2 วิธีการเก็บ

1) เลือกกิ่งที่มีใบ ดอก และผล ( ถ้ามี )ที่สมบูรณ์ที่สุด 2 – 3 กิ่ง ต่อพรรณไม้ 1 ชนิด แล้วใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้ หรือมีดคม ๆ ตัด

2) ถ้าเป็นพืชมีใบเดี่ยวควรตัดกิ่งมาด้วย ถ้าเป็นใบประกอบต้องตัดมาให้หมดทั้งใบจะตัดมาเฉพาะใบย่อยไม่ได้

3) ถ้าเป็นพรรณไม้ล้มลุกควรเก็บถอนมาทั้งรากและต้น ถ้ามีความยาวเกินขนาดของแผ่นกระดาษ เวลาอัดอาจพับใบและต้นให้มีลักษณะคล้ายรูป L M N V หรือ W ก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสม

4) ระหว่างตัด เก็บตัวอย่าง ควรผูกป้ายหมายเลขลำดับประจำตัวอย่างไว้ด้วย พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลอย่างละเอียดลงในส

2.3 วิธีการอัดแห้ง

นำตัวอย่างพรรณไม้มาทำความสะอาด แล้ววางลงบนด้านในของกระดาษหนังสือพิมพ์ที่พับครึ่งไว้ จัดแต่งให้สวยงามให้เหมาะสมกับหน้ากระดาษ ถ้าต้องตัดใบ หรือกิ่งย่อยที่เกินออก ควรตัดเหลือโคนใบหรือโคนกิ่งไว้ด้วย เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาในภายหลัง จัดให้ใบและดอกคว่ำบ้าง หงายบ้าง จากนั้นจึงปิดทับด้วยกระดาษลูกฟูก ทำซ้อน ๆ กัน เช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนหมดตัวอย่าง หรือตั้งสูงพอประมาณ ก็ปิดทับด้วยกระดาษลูกฟูกทั้งด้านบนและด้านล่าง ก่อนที่จะปิดด้วยแผงอัดพรรณไม้ เสร็จแล้วใช้เชือกรัดให้แน่น นำไปตากแดดโดยการตั้งแผงอัดพรรณไม้ขึ้น ถ้าแดดจัดตัวอย่างพรรณไม้จะแห้งภายใน 3 – 5 วัน หรืออาจจะนำไปอบในตู้อบที่อุณหภูมิ 40- 60 องศาเซอนึ่งถ้าตัวอย่างพรรณไม้มีดอกขนาดใหญ่ควรผ่าครึ่งดอกตามยา

48 ชั่วโมง ระหว่างนี้ต้องหมั่นเปลี่ยนกระดาษหนังสือพิมพ์ เพื่อป้องกันมิให้ตัวอย่างตายนึ่ง เน่า หรือเกิดเชื้อราได้

ผลที่มีขนาดใหญ่ควรตัดผลเป็นแผ่นตามยาวหรือตามขวางแล้วจึงค่อยนำไปทำให้แห้ง จะช่วยให้แห้งได้เร็วขึ้นส่วนของกลีบดอกที่บางมาก ๆ ควรวางในกระดาษไข เพื่อป้องกันไม่ให้กลีบดอกติดบนกระดาษหนังสือพิมพ์ ในกรณีที่พรรณไม้มีดอกและใบติดบนกิ่งที่มีขนาดใหญ่เมื่ออัดแห้งเสร็จแล้วดอกและใบมักร่วงหลุดออกจากกิ่ง เนื่องจากถูกแรงอัดของแผงอัดหรือดอกและใบไม่เรียบเนื่องจากมีกิ่งหนุนอยู่ ทำให้แผ่นใบและกลีบดอกไม่ได้ถูกทับให้เรียบ ดังนั้นเมื่ออัดตัวอย่างประเภทนี้ จึงควรใช้กระดาษพับเป็นชิ้นให้มีขนาดและความหนาพอดีที่จะหนุนให้ใบและดอกอยู่ระดับเดียวกับกิ่งที่มีขนาดใหญ่นั้น จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้

ถ้าไม่สามารถอัดตัวอย่างพรรณไม้ที่เก็บมาได้ให้เสร็จในคราวเดียวกันควรรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้ไว้ในถุงพลาสติกที่ใส่น้ำไว้ในก้นถุงเล็กน้อยและเป่าลมให้ถุงพองออก รัดปากถุงด้วยยางรัดให้แน่นเก็บไว้ในที่ร่มหรือในตู้เย็นได้ 1 – 2 วัน แต่วิธีที่ดีที่สุดคือ ควรอัดและทำให้แห้งทันทีหลังจากที่เก็บมาแล้ว ไม่ควรทิ้งไว้นานเกิน 4 – 6 ชม. เพราะอาจทำให้ตัวอย่างเน่าเสียหายได้

2.5 การติดตัวอย่างบนกระดาษติดพรรณไม้

เพื่อความคงทนถาวรของตัวอย่างพรรณไม้แห้ง และเพื่อความสะดวกและเป็นระเบียบในการเก็บรักษา ควรนำตัวอย่างพรรณไม้แห้งที่อาบน้ำยาแล้วไปเย็บติดลงบนกระดาษติดพรรณไม้

2.5.1 อุปกรณ์

1) กระดาษติดพรรณไม้สีขาวขนาด 11.5 x 16.5 นิ้ว พร้อมปก

2) กระดาษป้ายบันทึกข้อมูล ขนาด 4 x 6 นิ้ว

3) ด้ายเส้นใหญ่ เข็ม หรือกาวอย่างงดี

2.5.2 วิธีการ

1) เลือกตัวอย่างพรรณไม้ที่อาบน้ำยาและทำให้แห้งแล้วชิ้นที่ดีและครบสมบูรณ์ที่สุดของแต่ละชนิด มาวางบนกระดาษติดแผ่นไม้

2) จัดตำแหน่งให้เหมาะสม และสวยงาม อย่าให้มีส่วนของพืชเลยขอบกระดาษออกมา

3) ใช้เข็มเย็บตรึงด้วยด้ายเป็นระยะๆ บางตำแหน่งอาจใช้กาวอย่างดีติดตรึงไว้ก็ได้ เช่น แผ่นใบ กลีบดอก เมื่อกาวติดแล้วควรใช้วัตถุหนักๆ ทับเพื่อช่วยพรรณไม้ติดแน่นยิ่งขึ้น

ถ้าต้องการติดตัวอย่างพรรณไม้หลายชิ้นบนกระดาษแผ่นเดียวกัน ( ส่วนมากเป็นพืชที่มีขนาดเล็ก) ควรติดให้อยู่ในทิศทางเดียงกันและควรติดชิ้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดทางด้านล่างของกระดาษ

ถ้าเป็นตัวอย่างพืชที่มีส่วนของดอก ผล หรือ เมล็ดน้อย หายาก ขนาดเล็ก หลุดร่วงง่าย ให้บรรจุชิ้นส่วนดังกล่าวในซองที่ตัดและพับด้วยกระดาษสีขาวและติดซองนี้บนกระดาษติดแผ่นไม้ในตำแหน่งที่สวยงามและเหมาะสม

2.6 การติดป้ายบันทึกลักษณะพรรณไม้

หลังจากติดตัวอย่างพรรณไม้ลงบนกระดาษตอดพรรณไม้เรียบร้อยแล้ว จะติดป้ายบันทึกลักษณะพรรณไม้ ขนาดประมาณ 4 x 6 นิ้ว ที่มุมขวาด้านล่างของกระดาษติดตัวอย่างพรรณไม้ข้อมูลที่จะบันทึกลงบนป้ายบันทึกลักษณะพรรณไม้ ประกอบด้วย

1) หัวกระดาษ (heading) ชื่อหน่วยงาน จังหวัด ประเทศ

2) ชื่อวิทยาศาสตร์ (scientific name) พร้อมทั้งชื่อผู้ที่ตั้ง

3) ชื่อพื้นเมือง (local name)

4)สถานที่เก็บ(location,locality) ควรบอกให้ละเอียดเพื่อประโยชน์ในการศึกษา มุดบันทึกดังนี้




วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ลักษณะพรรณไม้


รหัส: 7-30240-001-047
ชื่อวิทยาศาสตร์: Averrhoa bilimbi L.
ชื่อวงศ์: BIGNONIACEAE
ชื่อสามัญ: Calabash Tree
ชื่อท้องถิ่น: น้ำเต้าญี่ปุ่น

ลักษณะวิสัย: ไม้ต้น
ลักษณะทั่วไป : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-8 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลม โปร่ง แตกกิ่งก้านแผ่ กว้าง ปลาย กิ่งห้อยย้อย โตช้า เจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้น
ทนน้ำท่วมขัง
ใบ : ใบเดี่ยว รวมกันเป็นกระจุกตามกิ่ง 3 -5 ใบ ไม่มีก้าน ใบรูปไข่กลับ แกนรูปช้อนกว้าง 5.5 -7.5 เซนติเมตร ยาว 20 - 28 เซนติเมตร ปลายใบมน
โคนใบสอบเรียวเป็นครีบ
ดอก : ออกดอกเดี่ยว หรือคู่ตามลำต้นและกิ่ง ดอกห้อยลง กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน เป็นหลอดสั้น ปลายแยกเป็น 2 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ขนาดใหญ่
ยาว 5 - 7 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 5 แฉก สีเขียวอมเหลือง มีลายริ้ว สีชมพูอมม่วง เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 3-5 เซนติเมตร ดอกร่วงง่าย ออกดอกตลอดปี
ผล : ทรงกลมขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลาง 13 - 20 เซนติเมตร เปลือกแข็งหนาเมื่อแก่สีเหลืองงอมเขียว เมล็ดกลมแบน น้ำตาลเข้ม ฝังอยู่ในเนื้อ ติดผลมากกว่าตีน
เป็ดฝรั่ง
ประโยชน์ : ใช้ล้างแผน ท้องเดิน แก้ฟกซ้ำ เป็นยาระบายอ่อน ๆ ขับเสมหะ แก้ไข ปวดศีรษะ ขับปัสสาวะ แก้บิด
การกระจายพันธุ์: เพาะเมล็ด หรือตอนกิ่ง

บูรณาการสวนพฤษศาสตร์โรงเรียน




7-30240-001-047/1

ชื่อพื้นเมือง น้ำเต้าต้น น้ำเต้าญี่ปุ่น น้ำเต้าต้น (กรุงเทพฯ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Crescentia cujete L.
ชื่อวงศ์ BIGNONIACEAE
ชื่อสามัญ Calabash tree
ประโยชน์ เป็นไม้ ให้ร่มเงา ประดับตกแต่งบ้าน