วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พรรณไม้แห้ง

1. ประโยชน์ของการเก็บและรักษาตัวอย่างพรรณไม้
1.1 เป็นหลักฐานว่าในแต่ละท้องถิ่นมีพืชชนิดใดบ้าง
1.2 เป็นข้อมูลให้ทราบว่าในแต่ละช่วงเวลามีพืชชนิดใด
1.3 ทำให้สามารถศึกษาพืชนั้น ๆ ได้ตลอดเวลา ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นช่วงฤดูเจริญเติบโตของพืชโดยเฉพาะพืชป่าหรือพืชที่หายาก
1.4 มีข้อมูลจากป้ายบันทึกที่ติดอยู่บนตัวอย่างมากกว่าที่ศึกษาจากต้นพื
1.5 ตัวอย่างพืชที่อัดแห้งและทราบชื่อที่ถูกต้องแล้ว เรียกว่า ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง หรือ herbarium specimen ซึ่งบางคนอาจเรียกย่อ ๆ ว่า herbarium ( พหูพจน์ herbaria ที่จริงแล้วคำนี้หมายถึงสถานที่เก็บรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้แห้ง หรือ พิพิธภัณฑ์พืช นั่นเอง ) สามารถใช้อ้างอิงได้เหมือนหนังสือ

2. การเก็บและอัดตัวอย่างพรรณไม้

2.1 อุปกรณ์

1) แผงอัดพรรณไม้( plant press ) ขนาด 30 x 46 ซม. หรือ 12 x18 นิ้ว 1 คู่ (ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง หรือไม้ไผ่ สานกันเป็นตาราง ตอกตะปูยึดให้ติดกัน)

2) เอกสำหรับรัดแผงอัด 2 เส้น ( นิยมใช้เชือกไส้ตะเกียง )

3) กรรไกรตัดกิ่งไม้หรือมีด

4) กระดาษอัดพรรณไม้ นิยมใช้กระดาษหนังสือพิมพ์เป็นคู่พับครึ่งสำหรับวางตัวอย่างพรรณไม้ที่จะอัด

5) กระดาษลูกฟูก หรือกระดาษกล่อง ใช้สำหรับคั่นระหว่างตัวอย่างพรรณไม้แต่ละชิ้นเพื่อให้พรรณไม้เรียบ และระบายความชื้นได้ดี

6) ถุงพลาสติกขนาดใหญ่เล็ก พร้อมยางรัดปากถุง

7) สมุดบันทึกและป้ายหมายเลขผูกตัวอย่างพรรณไม้

2.2 วิธีการเก็บ

1) เลือกกิ่งที่มีใบ ดอก และผล ( ถ้ามี )ที่สมบูรณ์ที่สุด 2 – 3 กิ่ง ต่อพรรณไม้ 1 ชนิด แล้วใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้ หรือมีดคม ๆ ตัด

2) ถ้าเป็นพืชมีใบเดี่ยวควรตัดกิ่งมาด้วย ถ้าเป็นใบประกอบต้องตัดมาให้หมดทั้งใบจะตัดมาเฉพาะใบย่อยไม่ได้

3) ถ้าเป็นพรรณไม้ล้มลุกควรเก็บถอนมาทั้งรากและต้น ถ้ามีความยาวเกินขนาดของแผ่นกระดาษ เวลาอัดอาจพับใบและต้นให้มีลักษณะคล้ายรูป L M N V หรือ W ก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสม

4) ระหว่างตัด เก็บตัวอย่าง ควรผูกป้ายหมายเลขลำดับประจำตัวอย่างไว้ด้วย พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลอย่างละเอียดลงในส

2.3 วิธีการอัดแห้ง

นำตัวอย่างพรรณไม้มาทำความสะอาด แล้ววางลงบนด้านในของกระดาษหนังสือพิมพ์ที่พับครึ่งไว้ จัดแต่งให้สวยงามให้เหมาะสมกับหน้ากระดาษ ถ้าต้องตัดใบ หรือกิ่งย่อยที่เกินออก ควรตัดเหลือโคนใบหรือโคนกิ่งไว้ด้วย เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาในภายหลัง จัดให้ใบและดอกคว่ำบ้าง หงายบ้าง จากนั้นจึงปิดทับด้วยกระดาษลูกฟูก ทำซ้อน ๆ กัน เช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนหมดตัวอย่าง หรือตั้งสูงพอประมาณ ก็ปิดทับด้วยกระดาษลูกฟูกทั้งด้านบนและด้านล่าง ก่อนที่จะปิดด้วยแผงอัดพรรณไม้ เสร็จแล้วใช้เชือกรัดให้แน่น นำไปตากแดดโดยการตั้งแผงอัดพรรณไม้ขึ้น ถ้าแดดจัดตัวอย่างพรรณไม้จะแห้งภายใน 3 – 5 วัน หรืออาจจะนำไปอบในตู้อบที่อุณหภูมิ 40- 60 องศาเซอนึ่งถ้าตัวอย่างพรรณไม้มีดอกขนาดใหญ่ควรผ่าครึ่งดอกตามยา

48 ชั่วโมง ระหว่างนี้ต้องหมั่นเปลี่ยนกระดาษหนังสือพิมพ์ เพื่อป้องกันมิให้ตัวอย่างตายนึ่ง เน่า หรือเกิดเชื้อราได้

ผลที่มีขนาดใหญ่ควรตัดผลเป็นแผ่นตามยาวหรือตามขวางแล้วจึงค่อยนำไปทำให้แห้ง จะช่วยให้แห้งได้เร็วขึ้นส่วนของกลีบดอกที่บางมาก ๆ ควรวางในกระดาษไข เพื่อป้องกันไม่ให้กลีบดอกติดบนกระดาษหนังสือพิมพ์ ในกรณีที่พรรณไม้มีดอกและใบติดบนกิ่งที่มีขนาดใหญ่เมื่ออัดแห้งเสร็จแล้วดอกและใบมักร่วงหลุดออกจากกิ่ง เนื่องจากถูกแรงอัดของแผงอัดหรือดอกและใบไม่เรียบเนื่องจากมีกิ่งหนุนอยู่ ทำให้แผ่นใบและกลีบดอกไม่ได้ถูกทับให้เรียบ ดังนั้นเมื่ออัดตัวอย่างประเภทนี้ จึงควรใช้กระดาษพับเป็นชิ้นให้มีขนาดและความหนาพอดีที่จะหนุนให้ใบและดอกอยู่ระดับเดียวกับกิ่งที่มีขนาดใหญ่นั้น จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้

ถ้าไม่สามารถอัดตัวอย่างพรรณไม้ที่เก็บมาได้ให้เสร็จในคราวเดียวกันควรรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้ไว้ในถุงพลาสติกที่ใส่น้ำไว้ในก้นถุงเล็กน้อยและเป่าลมให้ถุงพองออก รัดปากถุงด้วยยางรัดให้แน่นเก็บไว้ในที่ร่มหรือในตู้เย็นได้ 1 – 2 วัน แต่วิธีที่ดีที่สุดคือ ควรอัดและทำให้แห้งทันทีหลังจากที่เก็บมาแล้ว ไม่ควรทิ้งไว้นานเกิน 4 – 6 ชม. เพราะอาจทำให้ตัวอย่างเน่าเสียหายได้

2.5 การติดตัวอย่างบนกระดาษติดพรรณไม้

เพื่อความคงทนถาวรของตัวอย่างพรรณไม้แห้ง และเพื่อความสะดวกและเป็นระเบียบในการเก็บรักษา ควรนำตัวอย่างพรรณไม้แห้งที่อาบน้ำยาแล้วไปเย็บติดลงบนกระดาษติดพรรณไม้

2.5.1 อุปกรณ์

1) กระดาษติดพรรณไม้สีขาวขนาด 11.5 x 16.5 นิ้ว พร้อมปก

2) กระดาษป้ายบันทึกข้อมูล ขนาด 4 x 6 นิ้ว

3) ด้ายเส้นใหญ่ เข็ม หรือกาวอย่างงดี

2.5.2 วิธีการ

1) เลือกตัวอย่างพรรณไม้ที่อาบน้ำยาและทำให้แห้งแล้วชิ้นที่ดีและครบสมบูรณ์ที่สุดของแต่ละชนิด มาวางบนกระดาษติดแผ่นไม้

2) จัดตำแหน่งให้เหมาะสม และสวยงาม อย่าให้มีส่วนของพืชเลยขอบกระดาษออกมา

3) ใช้เข็มเย็บตรึงด้วยด้ายเป็นระยะๆ บางตำแหน่งอาจใช้กาวอย่างดีติดตรึงไว้ก็ได้ เช่น แผ่นใบ กลีบดอก เมื่อกาวติดแล้วควรใช้วัตถุหนักๆ ทับเพื่อช่วยพรรณไม้ติดแน่นยิ่งขึ้น

ถ้าต้องการติดตัวอย่างพรรณไม้หลายชิ้นบนกระดาษแผ่นเดียวกัน ( ส่วนมากเป็นพืชที่มีขนาดเล็ก) ควรติดให้อยู่ในทิศทางเดียงกันและควรติดชิ้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดทางด้านล่างของกระดาษ

ถ้าเป็นตัวอย่างพืชที่มีส่วนของดอก ผล หรือ เมล็ดน้อย หายาก ขนาดเล็ก หลุดร่วงง่าย ให้บรรจุชิ้นส่วนดังกล่าวในซองที่ตัดและพับด้วยกระดาษสีขาวและติดซองนี้บนกระดาษติดแผ่นไม้ในตำแหน่งที่สวยงามและเหมาะสม

2.6 การติดป้ายบันทึกลักษณะพรรณไม้

หลังจากติดตัวอย่างพรรณไม้ลงบนกระดาษตอดพรรณไม้เรียบร้อยแล้ว จะติดป้ายบันทึกลักษณะพรรณไม้ ขนาดประมาณ 4 x 6 นิ้ว ที่มุมขวาด้านล่างของกระดาษติดตัวอย่างพรรณไม้ข้อมูลที่จะบันทึกลงบนป้ายบันทึกลักษณะพรรณไม้ ประกอบด้วย

1) หัวกระดาษ (heading) ชื่อหน่วยงาน จังหวัด ประเทศ

2) ชื่อวิทยาศาสตร์ (scientific name) พร้อมทั้งชื่อผู้ที่ตั้ง

3) ชื่อพื้นเมือง (local name)

4)สถานที่เก็บ(location,locality) ควรบอกให้ละเอียดเพื่อประโยชน์ในการศึกษา มุดบันทึกดังนี้




วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ลักษณะพรรณไม้


รหัส: 7-30240-001-047
ชื่อวิทยาศาสตร์: Averrhoa bilimbi L.
ชื่อวงศ์: BIGNONIACEAE
ชื่อสามัญ: Calabash Tree
ชื่อท้องถิ่น: น้ำเต้าญี่ปุ่น

ลักษณะวิสัย: ไม้ต้น
ลักษณะทั่วไป : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-8 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลม โปร่ง แตกกิ่งก้านแผ่ กว้าง ปลาย กิ่งห้อยย้อย โตช้า เจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้น
ทนน้ำท่วมขัง
ใบ : ใบเดี่ยว รวมกันเป็นกระจุกตามกิ่ง 3 -5 ใบ ไม่มีก้าน ใบรูปไข่กลับ แกนรูปช้อนกว้าง 5.5 -7.5 เซนติเมตร ยาว 20 - 28 เซนติเมตร ปลายใบมน
โคนใบสอบเรียวเป็นครีบ
ดอก : ออกดอกเดี่ยว หรือคู่ตามลำต้นและกิ่ง ดอกห้อยลง กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน เป็นหลอดสั้น ปลายแยกเป็น 2 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ขนาดใหญ่
ยาว 5 - 7 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 5 แฉก สีเขียวอมเหลือง มีลายริ้ว สีชมพูอมม่วง เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 3-5 เซนติเมตร ดอกร่วงง่าย ออกดอกตลอดปี
ผล : ทรงกลมขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลาง 13 - 20 เซนติเมตร เปลือกแข็งหนาเมื่อแก่สีเหลืองงอมเขียว เมล็ดกลมแบน น้ำตาลเข้ม ฝังอยู่ในเนื้อ ติดผลมากกว่าตีน
เป็ดฝรั่ง
ประโยชน์ : ใช้ล้างแผน ท้องเดิน แก้ฟกซ้ำ เป็นยาระบายอ่อน ๆ ขับเสมหะ แก้ไข ปวดศีรษะ ขับปัสสาวะ แก้บิด
การกระจายพันธุ์: เพาะเมล็ด หรือตอนกิ่ง

บูรณาการสวนพฤษศาสตร์โรงเรียน




7-30240-001-047/1

ชื่อพื้นเมือง น้ำเต้าต้น น้ำเต้าญี่ปุ่น น้ำเต้าต้น (กรุงเทพฯ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Crescentia cujete L.
ชื่อวงศ์ BIGNONIACEAE
ชื่อสามัญ Calabash tree
ประโยชน์ เป็นไม้ ให้ร่มเงา ประดับตกแต่งบ้าน